จากกรณีที่มีผู้ป่วยซึ่งใช้น้ำมันกัญชา จนเกิดอาการชัก เกร็ง คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว สุดจนต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยใช้น้ำมันหยดใต้ลิ้นมากถึง40หยด และ ผู้ป่วยได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนหน้าที่จะหยดน้ำมันกัญชามาก่อน จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว และยังมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่ต้องถูกนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาลหลังจากการใช้น้ำมันกัญชาในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและผิดวิธี
ปริมาณที่แนะนำ :
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธาณสุข ได้จัดทำเอกสาร “คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์” เพื่อเป็นเอกสารประกอบการจัดการอบรมหลักสูตร”การใช้กัญชาทางการแพทย์” สำหรับให้แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้ารับการอบรมที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง โดยได้แนะนำ ขนาดยา และการบริหารยาไว้ ดังนี้
1. ไม่มีขนาดยาเริ่มต้นที่แน่นอนในผลิตภัณฑ์กัญชาแต่ละชนิด
ขนาดยาที่เหมาะสมขึ้นกับลักษณะของ ผู้ป่วยแต่ละคนและปรับตามแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มต้นขนาดต่ำและปรับเพิ่มขนาดช้าๆ จนได้ขนาดยาเหมาะสมที่ให้ผลการรักษาสูงสุด และเกิดผลข้างเคียงต่ำสุด ขนาดยาในระดับต่ำมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย

2. ผู้ที่เริ่มต้นรักษา และได้รับผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นครั้งแรกควรเริ่มต้นที่ขนาดต่ำมากๆ หากเกิดผล ข้างเคียง
2.1 ปรับลดขนาดยา เมื่อพบอาการ
• มึนเวียนศีรษะ (dizziness)
• เสียความสมดุล (loss of co-ordination)
• หัวใจเต้นช้า (bradycardia)
• ความดันโลหิตผิดปรกติ (abnormal pressure)

2.2 หยุดใช้ทันที เมื่อพบอาการ
• สับสน (disorientation)
• กระวนกระวาย (agitation)
• วิตกกังวล (anxiety)
• ประสาทหลอน (hallucination)
• อาการทางจิตเวช (psychosis)
3. การให้สารสกัดจากกัญชาในครั้งแรกควรให้เวลาก่อนนอนและมีผู้ดูแลใกล้ชิด
เนื่องจากอาจเกิด ผลข้างเคียงได้

4. เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการใช้สารสกัดกัญชาในรูปน้ำมัน หากเทียบเคียงกับการใช้
• สารสกัดกัญชาที่มี cannabidiol (CBD) สูง
ข้อมูลของการวิจัยคลินิกของ epidiolex® (CBD ใน ลักษณะน้้ามัน) แนะให้ใช้CBD ขนาด 5-20 mg ต่อ kg ซึ่งเป็นขนาดยาสำหรับเด็ก
ก่อนเริ่มรักษาควรตรวจการ ทำงานของตับ (liver function test) เป็นข้อมูลเบื้องต้น ภายหลังเริ่มต้นให้การรักษา 2 สัปดาห์ และทุก 2 สัปดาห์ ภายหลังเพิ่มปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง เนื่องจาก CBD จะเพิ่มระดับของยาหลายชนิดรวมถึงยากันชักเมื่อ ใช้ร่วมกับ CBD ซึ่งพบอุบัติการณ์ของตับอักเสบสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อเริ่มคุมอาการชักของผู้ป่วยได้แล้ว ควรลดขนาด ยาอื่นๆ ที่ใช้ลง

• สารสกัดกัญชาที่ขึ้นทะเบียน Epidiolex® (cannabidiol) ในรูปน้ำมันหยด
ซึ่งมีสัดส่วนโดยประมาณของ THC:CBD = 1:1 แนะน าให้ใช้ 1 สเปรย์ (THC 2.7 mg และ CBD 2.5 mg) ต่อวัน และเพิ่มปริมาณการใช้ได้ สูงสุด 12 สเปรย์ต่อวัน (THC 32.4 mg และ CBD 30 mg)

• สารสกัดกัญชาที่ขึ้นทะเบียน Sativex® (nabiximol) ในรูปสเปรย์
5. ผู้สั่งใช้ต้องเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยของการใช้สารสกัดกัญชา
และเก็บรวบรวมข้อมูลของขนาดยาที่ใช้โดยเฉพาะเมื่อใช้ในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีอายุน้อย
ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี THC เป็นส่วนประกอบ
1. ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา
ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ และ/ หรือสารที่ เป็นตัวทำละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด
2. ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease
(angina, peripheral vascular disease, cerebrovascular disease และ arrhythmia) หรือ มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ผู้ที่มีประวัติโรคทางจิตเวชมาก่อน
หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน (concurrent active mood disorder) หรือ โรควิตกกังวล (anxiety disorder)
4. หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร
รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงพบ cannabinoids ในน้ำนมแม่ได้

ข้อควรระวังอื่นๆ
1. การสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจาก ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้น ผู้สั่งใช้ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการสั่ง ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา
2. ผู้ที่เป็นโรคตับ
3. ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
4. ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines
5. ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอในสองกลุ่มนี้ กระบวนการ metabolism ของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้น ในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ
หมายเหตุ ข้อ 3 และ 4 อาจพิจารณาใช้ non-psychoactive cannabis preparation
สำหรับคนที่ใช้ยากัญชาแล้วเกิดผลข้างเคียงจนต้องเข้าโรงพยาบาล หลายครั้ง เหตุไม่ได้มาจากกัญชาไม่ปลอดภัย แต่เป็นความประมาทที่ใช้ยาเองโดยที่ไม่มีเเพทย์ให้คำแนะนำ
เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นยาเเล้ว มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมันเอง ถ้าใช้ผิดวิธีย่อมเกิดผลเสียมากกว่าได้ผลดี แม้แต่ยาสามัญประจำบ้านทั่วไป ถ้ารับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้เราเสียชีวิตได้เช่นกัน นับประสาอะไรกับน้ำมันกัญชา ถ้าเราใช้อย่างถูกวิธีโดยมีแพทย์คอยให้คำแนะนำเเล้ว น้ำมันกัญชาก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป
#กัญชาชน #highland
อ้างอิงจากเอกสาร “คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์” http://www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf